วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด
สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

 
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและให้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
    1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronoc mail หรือ e-mail ) เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
    หากต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะจำส่งทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของอยู่ที่จะเป็นขื่อรหัสให้และขื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@ipst.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปยังปลายางได้อย่างถูกต้อง การับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย




    ปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเป็นข้อมูลแบบใดก็ได้ทีอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล (digital) และสามารถใช้ภาษาอะไรก็ได้
รูปที่ 7.3 ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
    2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สมารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น
    รูปที่ 7.4 โปรแกรม CuteFTP
    3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย เช่น นักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
    4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปส่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สมารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (Wold Wide Wed : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
    5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (USENET) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว
    6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทีนทีทันใดบนจอภาพ ตอมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
    รูปที่ 7.5 โปรแกรมเพิร์ชใช้สำหลับสนทนาบนเครือข่ายรูปที่                                 7.6 โปรแกรม msn ใช้สำหรับสนทนาบนเครือข่าย
    7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการ ประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดีทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดีทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร
    รูปที่ 7.7 สถานีโทรทัศน์บนเครือข่าย
    8) การบริการบนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมากมายโดยผู้ใช้สามารถใช้บริการโดยอยู่ที่ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง การบริการบนอินเทอร์เน็ตมีทั้งเผยแพร่ข่าว


    ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

    อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
        1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
    เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
       
    2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)

    เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
       
    3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ
    FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
       
    4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น

       
    5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(
    Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
       
    6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม

       
    7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด
    24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
       
    8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น
    โทษของอินเตอร์เน็ต
    1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
    อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
    การเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
      รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
      มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
      ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
      รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
      ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
      หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
      การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
      มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
      ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
    มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

    2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content) เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
    3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา ไวรัส
    : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
    ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
    หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
    ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
    บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเตอร์เน็ต
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
    2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผูอื่น
    3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผูอื่น
    4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
    6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
    7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
    9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่เกิดจากการกระทำของท่าน
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
    ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
  • การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
  • ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
  • THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
  • NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
  • ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย , บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)และบริษัทเอกชนอื่นๆ


                                                           อัตราการเติบโตของการใช้ Internet ในประเทศไทย
            จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไทยเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะหลัง โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 7.6 ล้านราย ในปี 2548
    แม้การเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะชะลอตัวลง แต่ปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความกว้างของช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลมีการขยายตัวเพื่อรองรับกับความต้องการ ในขณะที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้น ขยายบริการความเร็วปกติไปสู่ความเร็วสูง ค่าบริการแนวโน้มต่ำลง บวกกับการพัฒนาคอนเทนต์(เนื้อหา)มีความหลากหลายเช่นกัน
    อย่างไรก็ตาม ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนรูปแบบ โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทช.) ได้เริ่มให้ใบอนุญาตใหม่แก่ผู้ประกอบการ ขณะที่ระดับความแพร่หลาย(penetration rate) ของการอินเตอร์เน็ตสามารถวัดได้จากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้
    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปข้อมูลที่สามารถอธิบายความแพร่หลายของอินเตอร์เน็ตในไทย ดังนี้
        ความแพร่หลายของการใช้อินเตอร์เน็ตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอย่างสหรัฐและอังกฤษ ที่มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตราว 55% ของประชากรทั้งประเทศ เทียบกับแถบเอเชียด้วยกันอย่างเกาหลีใต้ อัตราการใช้สูงถึง 60% ของจำนวนประชากร และมาเลเซีย 34.41% ของจำนวนประชากร
        มีการกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองมาก จากการเปรียบเทียบอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังพบการกระจุกตัวในกรุงเทพฯ
       ปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลสูงขึ้นและความเร็ว(bandwidth) ในการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น มีการเติบโตถึง 60-90% ต่อปี
       กลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อายุ 15-24 ปี หรือ 52% ของจำนวนผู้ใช้รวมทั้งประเทศ
        การใช้อินเตอร์เน็ตในสถานประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตัวเลขในปี 2547 นั้นมีสถานประกอบการ 8% ทั่วประเทศใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 4% ในปี 2545
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์แนวโน้มของบริการอินเตอร์เน็ตในระยะปานกลางนับจากปี 2549-2551 ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
          จำนวนผู้ใช้บริการใน 3 ปีข้างหน้า แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตในไทย ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประมาณการตัวเลขผู้ใช้บริการจะสูงถึงประมาณ 10.1 ล้านคนในปี 2551 อัตราการเติบโตประมาณ10% ต่อปี และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปในภูมิภาคมากขึ้น
           กลุ่มที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก ยังคงเป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาและกลุ่มคนทำงาน คิดเป็น 6070% ของผู้ใช้ทั้งหมด เป้าหมายการใช้มุ่งไปเพื่อการเรียน ค้นคว้า และการสื่อสาร และกลุ่มผู้ใช้ในต่างจังหวัดจะมีจำนวนมากขึ้น
           จำนวนผู้ให้บริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากกลุ่มให้บริการรายเดิมและรายใหม่
            การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความเป็นไปได้มากว่า เทคโนโลยีการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในส่วนของความเร็วในการเชื่อมต่อสูงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น
           การประยุกต์และเติบโตของการใช้บริการอินเตอร์เน็ตมีความเร็วเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านการค้า ด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษา และด้านความบันเทิงที่ได้รับความนิยมมาก จากที่ผ่านมาพัฒนาและเติบโตต่อเนื่อง โดยมีทั้งบริการจากภาครัฐและภาคเอกชน
          โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าบริการอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ในปี 2551 ผู้ใช้บริการน่าจะสูงถึงกว่า 10 ล้านคน แม้เป็นตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ซึ่งยังต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนอีกหลายประการคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ราคาค่าบริการ การใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่ไม่เหมาะสม ความพร้อมของเทคโนโลยี และมาตรการในการส่งเสริมการให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างทั่วถึง และบทบาทในการกำกับดูแลการให้บริการของ กทช.ถ้ามีแนวทางดำเนินงานที่ดี ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี และบริหาร จัดการมีต้นทุนต่ำที่จะมีผลต่อการเติบโตของบริการเป็นอย่างมาก

                                                             จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย
              ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 18.3 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน ซึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการเข้าถึงความรู้และการใช้งานด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจ เช่น ปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนใช้งานอินเทอร์เน็ตจริง เพราะหนึ่งคนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าหนึ่งประเภท โดยรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะมีทั้งที่ใช้งานผ่านบัญชีอินเทอร์เน็ตขององค์กรหรือสถานศึกษา ผ่านบัญชีอินเทอร์เน็ตของสมาชิกในครอบครัว หรือผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในวันนี้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อจำนวนประชากรของ Mobile Internet ได้แซงหน้า Boardband Internet ไปแล้ว จึงเป็นแนวโน้มที่ผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซต้องติดตาม
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
            ปี 2551: ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ อยู่ที่ 10.96 ล้านคน (ที่มา – สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2551)
            ปี 2552: ตัวเลขของต่างประเทศอยู่ที่ 20.03 ล้านคน (ที่มา – UN E-Government Survey: 2009)
            ปี 2552: ตัวเลขของ NECTEC อยู่ที่ 18.3 ล้านคน (ที่มา – ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC)
            ปี 2553: ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของ NECTEC อยู่ที่ 24 ล้านคน โดยเป็นตัวเลขประมาณการณ์จากการเก็บข้อมูล Unique IP ที่วิ่งบน Traffic (ซึ่งตัวเลขทางการยังไม่ออก จะออกประมาณปลายปีหรือต้นปี 2554)
ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
             จากผลสำรวจตลาดสื่อสารของประเทศไทยปี 2552-2553 พบว่ามีปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์เพิ่มมากขึ้น ดังต่อไปนี้
            โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท Smart Phone มีการพัฒนาให้รองรับการให้บริการ Mobile Internet เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
             แนวโน้มราคาของอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ปรับตัวลดลง เช่น Notebook Router และ Air Card เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554


แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต

แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต
1. ปัจจัยทางด้านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การขยายความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลหรือปริมาณการขยายแบนด์วิธ (Bandwidth) ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง โดยในเดือนมิถุนายน 2552 ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศอยู่ที่ 62 Gbps และการใช้ภายในประเทศอยู่ที่ 251 Gbps ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 28 สำหรับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ และร้อยละ 100 สำหรับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในประเทศไทยปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 106 ราย แบ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 จำนวน 91 ราย แบบที่ 2 จำนวน 13 ราย และแบบที่ 3 จำนวน 2 ราย  ดังจะเห็นได้ว่ามีเพียงผู้ให้บริการบางรายเท่านั้นที่เป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกตเวย์ (IIG) แม้ว่าปัจจุบันคณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะอนุญาตให้มีการเปิดเสรี IIG แล้วก็ตาม แต่จำนวนผู้ให้บริการก็ยังคงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการแบบที่ 1 สำหรับกลุ่มของ ISP  ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งผู้ให้บริการรายใหญ่และรายย่อย
2. ปัจจัยทางด้านผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ได้แก่ จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Subscribers)  ซึ่งปี 2551 มีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แล้วกว่า 9 แสนราย นอกจากนั้นจากรายงานสภาพตลาดโทรคมนาคมไตรมาส 4 ปี 2551 ของ กทช. ระบุว่า อัตราส่วนประชากรต่อจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่ที่ร้อยละ 1.6 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.3 ในปี 2556 จากอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำนี้เองทำให้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยังคงมีโอกาสในการขยายอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกมากและกลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพในที่สุด   จึงคาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เป็นที่น่าจับตามองไม่น้อย คือ Power Line Broadband ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งผ่านสายไฟฟ้า แต่ก็มีศักยภาพการให้บริการสูงในอนาคต เนื่องจากมีความสะดวกและเข้าถึงผู้ใช้บริการได้มากที่สุด ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป คืออัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่มีราคาถูกลงและจะยังคงมีแนวโน้มลดลงอีกเมื่อเทียบกับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น