วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 3 ท่องโลกอินเตอร์เน็ต

เครือข่ายใยแมงมุม
เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web)
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เว็บ"

                เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่าย
ใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย
ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากร
ของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
                เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบ
ของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎ
ให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้น
ของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบ
ปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง
                จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก
ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด
สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว
หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับ
จะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้

                เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการ
สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อน
นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด
ของมุมโลก
                ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง
ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นราย
บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา
สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่ง
ที่มีความ สำคัญ คือ
  1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับไปรษณีย์
    อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถ
    เข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจาก
    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น
  2. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอ
    คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่าเจ้าของจดหมาย
    ที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
  3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้
    ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียน แจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบ
    หรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น
  4. การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์
    หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทาง
    ของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา
  5. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของ
    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยัง
    ไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของ
    แฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จาก
    จอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย
  6. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้
    ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์
                จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้
ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อ
ทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน
หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์
การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย(File Transfer Protocol: FTP)

 

การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย(File Transfer Protocol: FTP)
FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือ ข้อมูลที่โอนย้ายมีหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ เพลง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข่าวสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฯลฯ โดยการโอนย้ายข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

Download คือ การนำข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการ FTP หรือ จากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

Upload คือ การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปไว้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การใช้งาน FTP สามารถกระทำได้โดยผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) หรือสามารถทำได้ในรูปแบบของ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง Get , Put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม Win FTP Light , Cute FTP (http://www.nectec.or.th/courseware/internet/index.html)

การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้บางประเภทในนามของ Anonymous FTP

Anonymous FTP คือ บริการดาวน์โหลดข้อมูลที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะโดยมี Login ที่เป็นตัวกลางในการเข้าถึง FTP
การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่ายด้วย telnet


การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่ายด้วย Telnet   เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลได้ เสมือนกับเราไปนั่งใช้งานที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ และสามารถสั่งให้เครื่องปฏิบัติงานตามคำสั่ง หรือโปรแกรมจากเครื่องของเราได้ การแสดงผลลัพธ์ของโปรแกรมTelnet นั้น ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะแสดงในรูปของข้อความ
   การทำงานของ Telnet จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เป็นบริการที่สามารถขอเข้าไปใช้บริการ หรือทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีเครื่องแม่ข่าย ที่จะทำหน้าที่ในการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลไปยังฐานข้อมูล งานบางชนิดจะต้องใช้โปรแกรมสำหรับการทำงานเฉพาะอย่าง ดังนั้น เครื่องที่เป็นเครื่องแม่
บริการค้นหาข้อมูลข้ามเครือข่าย
เนื่องจากมีความพยายามที่จะจัดตั้งระบบ Electronic Library หรือห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงมีการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อทำเมนูในการค้นคว้า หาข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่
  • Archie
    • เป็นวิธีการแบบง่าย ในการที่จะค้นหาสารสนเทศ ในลักษณะของ anonymous ftp พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Mc Gill ใน Montreal ประเทศแคนาดา โปรแกรมนี้เป็นความพยายามอันแรก ที่จะใช้ระบบ Internet เป็น Catalog เพื่อเก็บและเผยแพร่ข้อมูล สารสนเทศบนเครือข่าย คุณสามารถส่งคำถาม ไปยังเครื่องที่บริการด้วย E-mail และเครื่องบริการก็จะตอบคำถามกลับมา
  • Gopher
    • พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Minnesota เป็นวิธีการซึ่งสามารถที่จะค้นหา และ รับข้อมูลแบบง่าย บน Internet โดยไม่ยุ่งยาก และสามารถรับข้อมูลได้หลาย แบบ เช่น ข้อความ เสียง หรือภาพ Gopher นั้น ทำงานผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติ โดยมีตัวให้บริการ อยู่ทั่วไปบน Internet แต่ละตัวให้บริการ จะเก็บข้อมูลของตนเอง รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังตัวให้บริการอื่นๆ ในการเข้าถึง Gopher ด้วย Gopher name
  • Veronica
    • มาจากคำว่า Very Easy Rodent-Oriented Net-oriented Index to Computerized Archives ซึ่งพัฒนาจาก มหาวิทยาลัยแห่ง Nevada ซึ่งจะใช้การค้นหาด้วย Key Word ในทุกๆ ตัวให้บริการ และทุกๆ เมนู หรือเรียกอีกแบบหนึ่งได้ว่า เก็บดัชนีของทุกๆ ตัวให้บริการ ไว้ที่ Veronica
  • WAIS
    • มาจากคำว่า Wide Area Information Sever สามารถใช้โปรแกรมนี้ ในการค้นหาแหล่งข้อมูล โดยใช้ภาษาแบบปกติ ไม่ต้องใช้โปรแกรมภาษาพิเศษ หรือภาษาของฐานข้อมูลในการค้น WAIS ทำงานโดยการรับคำร้อง ในการค้นและเปรียบเทียบ ในเอกสารต้นฉบับว่าเอกสารใด ตรงกับความต้องการ และส่งรายการทั้งหมดมายังผู้ที่ต้องการ
บริการสนทนาออนไลน์

 

บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC - Internet Relay Chat) หรือเรียกว่า Talk เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบ (ทั้งโดยการพิมพ์ และพูด) กับผู้อื่นๆ ในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกันปัจจุบันบริการนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยอาศัยอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น กระดานสนทนา, ไมโครโฟน, กล้องส่งภาพขนาดเล็กเป็นต้น

บริการสนทนาออนไลน์


"> สนทนาแบบออนไลน์ ( Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat ( ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time
กระดานข่าว(Bulletin Board System : BBS)
       กระดานข่าว  เป็นบริกาในรูปแบบของกล่มสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆในกล่มของ ผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน โดยจะต้องเป็น " กลุ่มข่าว (News Group)" เช่น กลุ่มผู้ที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์  ด้านดนตรี  ด้านศิลปะ  หรือแม้กระทั่งแบ่งต่างกลุ่มอาชีพและกล่มอายุก็ได้  เช่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา  กลุ่มผู้หญิงทำงาน  เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจที่จะใช้บริการเลือกกลุ่มเข้าไปสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร เป็นเวทีให้แสดงความคิดเห็นหรือเมื่อต้องการสอบถามในเรื่องที่สงสัยและต้อง การคำตอบ  ผู้ที่อยู่ภายในกลุ่มให้คำแนะนำ หรือตอบข้อสงสัยได้ ทำให้เราได้รับประโยชน์และได้ความรู้ใหม่ๆ                  
การค้าอิเล็กทรอนิกส์
   เป็นระบบการค้าที่มีการซื้อ ขาย  ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  โลกยุคดิจิทัล  ระบบการค้ามิได้ยึดรูปแบบเดิมๆ คือต้องหาทำเล  เพื่อตั้งร้านค้า  หรือหาพนักงานในการดำเนินการค้าแต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการสื่อ สาร  จะทำได้สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัดกว่ารูปแบบเดิม  สามารถดำเนินการค้าได้ไม่เฉพาะ แต่ภายในประเทศ  หรือในเขตที่ตั้งร้านเท่านั้น  แต่สามารถค้าขายได้กับทุกคน  นอกจากนั้นเป็นวิธีทำการค้าตลอดเปิดตลอด  24  ชั่วโมง  เพียงแต่อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถซื้อขายสินค้าได้  ดั้งนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์จึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดสู่โลกกว้าง
              
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น