วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 8 กาค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ประเภทของการค้นหาข้อมูล

 - Search Engine

กาค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท คือ
     1. Seach Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง
             Seach Engine เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมช่วยในการค้นหาที่เรียก ว่า Robot ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งการค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้อง การเฉพาะได้ระบุคำที่เจาะจงลงไป เพื่อให้โรบอตเป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมาก เช่น http://www.google.com/
 
 
      2.Search Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่
           การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยมีเว็บไซต์ที่เป้นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลใน ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่
เพื่อให้ผู้ ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจะจัดตาม ข้อมุลที่คล้ายกัน หรือเป็นประเภทเดียวกัน นำมารวบรวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน
           ลักษณะ การค้นหาข้อมูล  Search Directories จะทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกข้อมูลที่ต้องการค้นหา และทำให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ
           การค้นหาวิธีนี้ มีข้อดีคือ สามารถเลือกจากชื่อไดเร็กทอรี่ส์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา และสามารถที่จะเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์ใด้บ้างได้ทันที
เช่น http://www.sanook.com/  
 
   3.  การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือ Directories
     
      การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ เปรียบเสมือนเราเปิดหน้าต่างเข้าไปในห้องสมุด ซึ่งได้จัดหมวดหมุ่ของหนังสือไว้แล้ว และเราก็ได้เดินไปยังหมวดหมู่ของหนังสือที่ต้องการ ซึ่งภายในหมวหมู่ใหญ่นั้น ๆ ยังประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ เพื่อให้ได้ข้อมุลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแบ่งประเภทของข้อมุลให้ชัดเจน เราก็จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือที่ต้องการได้ แล้วก็เปิดเข้าไปอ่านเนื้อหาข้างในของหนังสือเล่มนั้น วิธีนี้จะช่วยให้การค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้ เช่น www.siamguru.com , www.sanook.com , www.excite.com , www.hunsa.com , www.siam-search.com
 
 
วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบ Directories สามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ
     
      1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในช่องแอดเดรส เช่น www.sanook.com 
      2. เลือกชื่อหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล เช่น การศึกษา จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้ โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันกวดวิชา และการสอนพิเศษแนะแนวการศึกษา
      3. เมื่อคลิกที่หัวข้อเรื่องย่อยที่ต้องการ เช่น สถาบันอุดมศึกษา
      4. จะปรากฏหัวข้อเรื่องย่อยของสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบัน , มหาวิทยาลัยของรัฐ , มหาวิทยาลัยเอกชน , มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นต้น ทำให้สามารถเลือกข้อมูลได้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุด โดยไม่ทำให้เสียบเวลาในการเลือกข้อมูล เพราะ ได้จักเป็นข้อมูลไว้เป็นกลุ่มข้อมูลย่อย ๆ
      5. นอกจากแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยของข้อมูล แล้วก็ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกค้นหาข้อมูลอีกมากมาย
 
 

การค้นหาโดยใช้ Search Engine

Search Engine Marketing    คำนี้ไม่ได้เป็นศัพท์ใหม่ หลายๆ คนรู้จักกันมานานแล้ว แต่ในประเทศเราเองนั้น เพิ่งจะเริ่มตื่นตัวกับการทำ SEM นี้ในช่วง 5 ปีหลังที่ผ่านมานี้เอง หากใครยังไม่รู้ว่า Search Engine Marketing คืออะไร จะขออธิบายดังนี้

SEM หรือ Search Engine Marketing นั้น หากแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ จะหมายถึงการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเครื่องมือค้นหาทางอินเทอร์เน็ต ที่เด่นๆ นั้นก็ได้แก่ Google, Yahoo และ Live (MSN) โดยการทำ SEM นี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
การทำ Search Engine Optimization (SEO) คือการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ของเราให้โดนใจ Search Engine ต่างๆ อาจจะมีการปรับโครงสร้างภายใน code, โครงสร้าง link หรือ บางทีเมื่อก่อนที่เราเคยโปรโมทเว็บเราด้วยการแลกลิงค์ (link exchange) นั้น ก็ถือว่า เป็นการทำ SEO แบบหนึ่งอีกด้วย
แต่การจะทำ SEO ได้นั้น ต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ทั้ง off-page และ on-page factor ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีผลกระทบกับการทำ SEO เป็นอย่างยิ่ง แต่อะไรจะมีคะแนนมากหรือน้อย อย่างไรนั้น ต้องไปทดลองทำด้วยตนเองถึงจะรู้ เมื่อเราทำ SEO แล้วนั้น เว็บไซต์ที่เราทำจะไปปรากฏบริเวณด้านซ้ายมือของผลการค้นหา ซึ่งแน่นอนว่า บริเวณนี้จะมีคนคลิกเป็นจำนวนมาก และคนส่วนใหญ่จะคลิกเว็บไซต์ที่ปรากฏผลในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาเป็นจำนวนมาก
เรียกได้ว่า ใครมีเว็บไซต์อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาจะสามารถทำเงินได้อย่างสบายๆ 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น