วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 6 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตประกอบด้วยSMTP
SMTP(simple message transfer protocol)ทำหน้าที่ส่งอีเมลเซิร์ฟเวอร์ของผู้ส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้รับจากกรณีตัวอย่าง
ในการส่งและรับอีเมลการทำงานของ application protocolDNS (Domain Name Server)

DNS (Domain Name Server )กลไกการทำงานของ DNS มีขั้นตอนอย่างง่ายๆ ดังรูปที่ 1 โดยในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ซึ่งมีอยู่มากและยังมีโปรโตคอลพิเศษคอยทำหน้าที่ต่างๆอยู่เบื้องหลังด้วย เช่น โปรโตคอล ARP ช่วยแปลงค่า IP address เป็นค่าฮาร์ดแวร์ เป็นต้น ตามรูปการทำงานของ DNS มีขั้นตอนที่สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) ที่มี domain เป็น abccompany.com ต้องการติดต่อกับเว็บไซต์ที่ชื่อ www.xyz.com ดังนั้นเครื่องไคลเอนด์นี้ จะส่งคำสั่งขอข้อมูลหมายเลข IP address ด้วยกลไก resolver ไปที่ DNS server ที่ดูแล zone ของตนอยู่ คือ domain abccompany.com ในกรณีนี้สมมุติว่าฐานข้อมูลที่มีใน DNS server ไม่มีข้อมูลหมายเลข IP address ของ www.xyz.com ทั้งนี้เพราะ DNS server ของ zone abccompany.com จะดูแลฐานข้อมูลเฉพาะเครื่องลูกข่ายตนเอง ดังนั้น DNS server นี้ก็จะส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS server ที่อยู่ระดับบนกว่า ซึ่งได้กำหนดเอาไว้ให้เป็นเครื่อง DNS server ของบริษัทผู้ให้บริการ ISP นั่นเอง 2. เมื่อ DNS server ของ abc.company.com ส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS server ของบริษัทผู้ให้บริการ ISP แล้ว เครื่อง DNS server ของ ISP ก็จะค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลของตนเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้สมมุติว่ายังไม่มีข้อมูล IP address ของ www.xyz.com อีกเหมือนกัน เครื่อง DNS server ของบริษัท ISP จะส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อออกไปยังเครื่อง DNS server ในระดับบนขึ้นไปอีกซึ่งก็ได้มีการกำหนดไว้ว่าเป็นเครื่อง root server 3. เมื่อ DNS server ของ abc.company.com ส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS server ของบริษัทผู้ให้บริการหรือ ISP แล้ว เครื่อง DNS server ของISP ก็จะค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลของตนเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้สมมุติว่ายังไม่มีข้อมูล IP address ของ www.xyz.com อีกเหมือนกัน เครื่อง DNS server ของ ISP จะส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อออกไปยังเครื่อง DNS server ในระดับบนขึ้นไปอีก ซึ่งก็ได้มีการกำหนดไว้ว่าเป็น root server 4. คำสั่งขอข้อมูลถูกส่งต่อไปยัง DNS server ของ root เพราะดูแลฐานข้อมูลของ domain name ในระดับสอง (.com) 5. ที่ DNS root server แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลหมายเลข IP address ของ www.xyz.com ก็ตาม แต่มีข้อมูลที่ทราบว่า DNS server ที่ดูแล zone ของ domain xyz.com อยู่ที่ใด (มีหมายเลข IP address อะไร) DNS root server ก็จะส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้ เพราะที่เครื่อง DNS SERVER ที่ดูแล domain xyz.com จะต้องมีข้อมูลของ IP address ของ www.xyz.com อยู่แน่นอน 6. DNS server ของ ISP จะรับข้อมูล IP address ของเครื่อง DNS server ที่ดูแล zone ของ domain xyz.com เป็น 192.183.255.20 และแจ้งต่อไปให้ DNS server ที่รับผิดชอบ domain xyz.com อีกทีหนึ่ง ในขั้นนี้เครื่อง DNS server ของบริษัท ISP จะเก็บค่าคำตอบเอาไว้ในหน่วยความจำแคชเพื่อใช้กรณีที่มีการเรียกข้อมูลซ้ำอีกในอนาคต จะได้ส่งคำตอบไปให้เลยโดยไม่ต้องไปขอข้อมูลซ้ำอีก ค่าที่เก็บเอาไว้จะมีระยะเวลาที่ต้องปรับปรุงข้อมูลใหม่ตามค่าในฟีลด์ TTL ที่กำหนดไว้ใน resource record 7. DNS server ของบริษัท abccompany.com จะรับข้อมูลหมายเลข IP address ของเครื่อง DNS server ที่ดูแล zone ของ domain xyz.com ตามที่เครื่อง DNS server ของ ISP ส่งมาให้ และเก็บลงหน่วยความจำแคชของตนเองเช่นกัน เผื่อมีการเรียกใช้อีกในอนาคต แล้วส่งคำสั่งไปถามข้อมูลว่าเครื่อง www.xyz.com อยู่ที่ไหน (มีหมายเลข IP address อะไร) 8. DNS server ของ domain xyz.com ตรวจสอบข้อมูลและแจ้งว่าเครื่อง www.xyz.com อยู่ที่ IP address 192.186.255.26 ข้อมูลถูกส่งกลับไปให้เครื่อง DNS server ของ abccompany.com 9. คำตอบที่ DNS server ของ abccompany.com ได้รับจะถูกส่งต่อให้กับเครื่องไคลเอนต์ที่ต้องการและก็จัดเก็บข้อมูลลงหน่วยความจำแคชเช่นกัน 10. เมื่อเครื่องลูกข่ายทราบว่า www.xyz.com มีหมายเลข IP address อยู่ที่ 192.183.255.26 ก็จะติดต่อกับเครื่อง www.xyz.com โดยถ้าใช้งานเว็บก็จะสร้างการเชื่อมต่อโดยโปรโตคอล HTTP และใช้งาน port 80 เพื่อเรียกดูข้อมูลในเว็บไซต์นั้นต่อไป ตามกลไกลของ TCP/IP อาจมีผู้สงสัยว่าในการทำงานของ DNS server ทั้งหลายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นมีวิธีการจัดการอย่างไร ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังกล่าวที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นว่า DNS server จะถูกจัดลำดับในการดูแลฐานข้อมูลแยกกันตามกลุ่ม โดยแบ่งลำดับชั้นให้สอดคล้องกับการกำหนดชื่อ domain และในแต่ละลำดับของ DNS server นี้จะทราบว่าถ้าต้องการติดต่อขอข้อมูลจากลำดับบนขึ้นไปจะติดต่อได้จากหมายเลข IP address อะไร โดยในชั้นบนสุดเป็น root ที่จะดูแลข้อมูลของ domain ลำดับที่สองและย่อยลงไปตามชั้น และแต่ละเซิร์ฟเวอร์ที่ดูแล domain ของตนก็จะเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์นั้นมีสิทธิ์ในการรับผิดชอบ zone ของตนเอง การลงทะเบียนขอชื่อ Domain Name แหล่งข้อมูล
http://http//61.19.44.123/E-learning/datacom/UNIT10.HTMFTP ( File Transfer Protocal) วิธีการทำงานของ FTP Ftp ทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร (Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection - Oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทาง และต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้ ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ • ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจาก ไคลเอนต์แล้วไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ • ข้อมูลคำสั่ง (Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้สั่งงานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรีในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ get ใช้โหลดไฟล์มาที่เครื่องไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในของ FTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้าย ซึ่งก็คือผลการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆ โดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่จะรับส่งนี้เป็นประเภทคำสั่งไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการจะโอนย้าย การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP ที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol Interpreter Module หรือ PI) ซึ่งทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล (Data Transfer หรือ DT) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ทั้งในเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์

รูปการทำงานของ Protocal FTP จากรูปแสดงถึงองค์ประกอบและกลไกการทำงานของโปรโตคอล FTP จะเริ่มจากผู้ใช้ (USER) เรียกใช้โปรแกรมผ่าน User Interface และ เมื่อเป็นโปรแกรม FTP พร้อมใช้งานแล้ว ถ้ามีการใช้คำสั่งต่างๆของFTPจะเป็นหน้าที่ของ PI (Protocol Interpreter module) ทำหน้าที่แปลคำสั่งและทำงานตามคำสั่ง ในกรณีที่มีการส่งรับข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของ DT (Data Transfer module) ซึ่งโมดูล PI และDTนี้จะอยู่ทั้งด้านของไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากการเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Unix และแพร่หลายอยู่ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows 95, Windows 98 หรือแม้แต่ Windows NT ก็ตาม ซึ่งคุณสมบัติของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ ( download ) หรือส่งไฟล์ไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ ( upload ) ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่ วิธีการทำงานของ FTP วิธีที่ 1 : ใช้ File Manager ใน Control Panel ผู้ให้บริการ Web Hosting ทุกรายมีระบบ Control Panel เช่น cpanel, direct admin หรือ plesk ผู้ใช้จะได้รับ e-mail แจ้งว่าเข้าใช้ Control Panel ได้อย่างไร และจะพบกับ File Manager ที่ทำให้ท่านเข้าไปจัดการกับระบบแฟ้ม และห้องต่าง ๆ ได้ รวมถึงการส่งแฟ้ม หรือนำแฟ้มออกมาจากเครื่อง เป็นต้น วิธีที่ 2 : ใช้ DOS FTP on Command Line ในคอมพิวเตอร์ทุกระบบปฏิบัติการ มักมีโปรแกรม FTP ที่ทำงานใน Text Mode ท่านสามารถพิมพ์คำสั่ง ftp ตามด้วยชื่อ Host เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ และส่งแฟ้มได้ทันที ตัวอย่างคำสั่งอยู่ท้ายสุดของเว็บเพจหน้านี้ วิธีที่ 3 : FTP Client Program ต้อง Download โปรแกรม เช่น filezilla หรือ ws_ftp32 เป็นต้น มาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ แล้วกำหนดชื่อโฮส ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน โปรแกรมจะเข้าเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ จากนั้นผู้ใช้ก็เลือกแฟ้มที่จะส่ง หรือรับ กับเครื่องบริการได้โดยสะดวก แหล่งข้อมูล
http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/kittichonm/category/uncategorized/ftp-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/Telnet หรือ SSH Telnet คือ เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมากแต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัยเช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่ สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้ แหล่งข้อมูล http://www.thaiall.com/internet/internet03.htmlHTTP ( Hyper Text Transfer Protoco)l HTTP ย่อมาจาก Hyper Text Transfer Protocol ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext) ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เขียนในภาษา HTML (HyperText Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้น จะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้นอื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้ อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน หรือต่างเครื่องกันก็ได้ แหล่งข้อมูล

รูปแบบของ  E-mail address


ประเภทของ e-mail

อี-เมล์ (E-mail) ย่อมาจาก Electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (Terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (Network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (E-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสานักงานอัตโนมัติ (Office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
ประเภทของ e-mail
e-mail มี  3  ประเภท  คือ
1. POP  (Post Office Protocol Version)
POP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Offline Model กล่าวคือเวลาทำงาน E-mail Client จะเชื่อมต่อกับ Mail Server จากนั้นจะ Download และลบ E-mail ออกจาก Server หรือ Download เพียงอย่างเดียวแล้วทิ้ง E-mail ไว้บน Server ภายหลังจากที่ E-mail ถูก Download มาที่เครื่อง Client เรียบร้อยแล้ว Client จะตัดการเชื่อมต่อออกจาก Server หลังจากนั้น E-mail จะถูก Process ที่เครื่อง Client ทั้งหมด ข้อได้เปรียบของการทำงานแบบนี้ก็คือ Client แต่ละเครื่องใช้เวลาในการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mail Server น้อยมากอีกทั้งยังต้องการเนื้อที่เก็บ E-mail บน Server น้อยด้วยเช่นกัน แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถอ่าน E-mail จาก Client เครื่องอื่นได้อีกหากว่าเรา Set ให้ลบ Mail บน Server หลังจาก Download เสร็จ หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า Mail ฉบับไหนเคยอ่านไปแล้วบ้าง หากเรา Set ค่าแบบ ให้ทิ้ง E-mail ไว้บน Server อีกประการหนึ่งคือเครื่อง Client จะต้องมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเป็นผู้ Process E-mail ด้วยตนเอง
2. IMAP  (Internet Message Access Protocol Version)
IMAP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับ Disconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mail ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับ Server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP
3. WEB Based
Web Base Mail เช่น อีเมล์ของ hotmail.com, chaiyo.com ซึ่งหากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefox ก็สามารถเข้าเช็คอีเมล์หรือเขียนอีเมล์ได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสมอไป เพราะโปรแกรมอีเมล์ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web-based Application ที่ใช้โปรแกรมเว็บบราวเซฮร์เป็นเครื่องมือในการเปิดโปรแกรมใช้งาน จึงทำให้โปรแกรมอีเมล์สามารถทำงานได้เหมือนกับการเข้าไปดูเว็บไซต์ทั่วไป
ข้อดีของ POP  คือ
  1. อยู่ในเครื่อง อ่านเมื่อไรก็ได้
  2. Offline จึงเร็ว
  3. Upload ครั้งเดียว สั่ง Disconnect ได้

ข้อเสียของ POP  คือ
  1. ถ้า Download มาแล้ว จะไม่อยู่ใน server
  2. ผู้ให้บริการที่มีชื่อ ดี ๆ มีน้อย
  3. จำกัดว่าต้อง อ่านกับเครื่องที่ setup ไว้
ข้อดีของ IMAP  คือ
  1. เปิดที่ใดก็ได้ ที่มีโปรแกรมสำหรับ IMAP อยู่
  2. ไม่มี banner กวนใจเหมือน Web based
  3. ทำงานได้เร็ว ในรูปแบบ Online
  4. Attach file ได้ง่าย
ข้อเสียของ IMAP  คือ
  1. ถ้าการเชื่อมต่อช้า การติดต่อก็จะช้าไปด้วย
  2. ต้องมีโปรแกรมที่ใช้ในการนี้ ในเครื่องที่ใช้
  3. มีลูกเล่นไม่มาก นอกใช้ function หลักสำหรับ mail
ข้อดีของ WEB Based  คือ
  1. ใช้ browser ตัวใดก็ได้ เปิดอ่าน mail
  2. เปิดจากเครื่องใดก็ได้ที่ มีโปรแกรม browser
  3. มักมีบริการเสริมหลายอย่างประกอบ เช่นดูด pop ได้
ข้อเสียของ WEB Based   คือ
  1. ช้าเพราะมีระบบ graphic ใน sponsor มาก
  2. บางเว็บที่ให้บริการมีปัญหาภาษาไทย
  3. มักช้ากว่าการเปิด mail แบบอื่น
1. ยอมรับเงื่อนไขการให้บริการ
ดูรายละเอียด กฏ ระเบียบต่างๆ ที่แสดงขึ้นมา หากตกลงที่จะสมัครสมาชิก เลือกถูกที่ " ยอมรับเงื่อนไขข้อตกลง " และคลิกที่ ปุ่มสมัครใช้บริการ ด้านล่าง
2. กรอกรายละเอียดสำหรับสมัครใช้บริการ
เลือกประเภทบริการที่ต้องการจะสมัครใช้บริการ ระบุข้อมูลต่างๆที่ต้องการเปิดใช้บริการ และรายละเอียดส่วนตัว
3. รับอีเมล์เพื่อยืนยันสมัครใช้บริการ
หลังจากกรอกข้อมูล เพื่อสมัครสมาชิก และคลิก Submit เรียบร้อยแล้วจะมีเมล์ยืนยันการสมัครสมาชิกส่งไปยัง อีเมล์ที่ท่านระบุไว้
4. ยืนยันการสมัครใช้บริการทางอีเมล์
ผู้ที่ทำการสมัคร Free Package สามารถที่จะยืนยันผ่านทางอีเมล์ และ ใช้งานได้ทันที สำหรับ Package อื่นจะต้องทำการโอนเงิน และ Fax หรือ อีเมล์ หลักฐานการชำระมาเพื่อทำการเปิด Package ที่คุณได้ทำการสมัครไว้
5. เข้าชมเว็บ username.shopup.com
สามารถเรียกดูเว็บไซต์ของท่านได้โดยทันที โดยเรียกด้วย URL : http://yourusername.shopup.com
6. เข้าสู่ระบบ สำหรับปรับแต่งเว็บไซต์
หลังจากชำระเงิน และแจ้งการชำระเงินมายัง www.Shopup.com ทางเราจะดำเนินการเปิดให้ใช้บริการตามที่ได้สมัครมา (กรณี Free Package ยืนยันผ่านทางอีเมล์แล้วใช้งานได้ทันที) โดยจะส่งรายละเอียดการใช้งานไปยังอีเมล์อีกครั้ง จากนั้นท่านสามารถ Login เข้าสู่ระบบเพื่อใช้งานได้ทันที

คุณสามารถเข้าสู่ระบบได้โดยทำการล็อคอินผ่านทางเว็บไซต์ www.shopup.com
7. ปรับแต่งเว็บไซต์ตามสไตล์ของคุณ
เข้าสู่ระบบ Control Panel เพื่อทำการปรับแต่ง Function ต่างๆ และเลือกรูปแบบของเมนูและ Template ได้ตามต้องการ




องค์ประกอบภายในกล่องจดหมาย
   เมนูหลักประกอบด้วย 4 เมนู ดังต่อไปนี้
1.       Inbox กล่องจดหมายเข้า
2.       Sent กล่องจดหมายออก
3.       Draft กล่องเก็บสำเนาจดหมาย
4.       Trash ถังขยะ
การอ่านจดหมาย
      ภายในกล่องจดหมายเข้า จะแสดงจดหมายที่อยู่ภายในกล่องเก็บจดหมายนี้ เมื่อเราคลิกเลือกที่
 Inbox หรือ Check Mail จะปรากฎรายการของจดหมายที่มีอยู่
การตอบจดหมายกลับ
          การเพิ่ม Re: หน้าชื่อเรื่องของจดหมาย และจะนำเนื้อหาของจดหมายฉบับที่เราได้รับมาแสดงด้วย
   เป็นการทบทวนเรื่องราวของจดหมายก่อนที่จะทำการตอบจดหมายต่อไป
การส่งจดหมายต่อ
     ระบบจดหมายเวียนที่สามารถส่งต่อไปยังบุคคลอื่นได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาที่จะเขียนจดหมายที ละฉบับเพื่อส่งให้แต่ละคน เป็นการลดเวลาในการเขียนจดหมาย
การลบจดหมาย
         ถ้าไม่ต้องการเก็บจดหมายฉบับนี้ไว้อ่านอีก เราจะทำการลบจดหมายฉบับนั้นทิ้ง เพราะการใช้           งานในอีเมลนั้นเราได้รับเนื้อที่จากเมลเซิร์ฟเวอร์ในการเก็บจดหมายจำกัด
การกู้จดหมายกลับคืน
1.       คลิกที่ Trash
2.       คลิกเลือกจดหมายที่ต้องการกู้กลับคืน
3.       คลิกที่ Move เพื่อกำหนดสถานที่จะนำจดหมายมาเก็บไว้














  •  E-mail address : ที่อยู่การส่ง E-mail  

    • <user name> @ domain name
    • sakda@kku.ac.th 
    • ต้องไม่มี  ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่,  เว้นวรรค  
     
  • มีส่วนประกอบ 3 ส่วน

    • Username : ชื่อผู้ใช้
    • เครื่องหมาย : @  เรียกว่า assign  อ่านออกเสียงว่า “at”  
    • domain name : ชื่อสถานีรับ-ส่ง E-mail
  •  นักศึกษาทุกคนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มี e-mail address คือ

    • <รหัสนักศึกษาไม่มีขีด>@kku.ac.th
    • ได้รับพื้นที่ในการรับ-ส่ง E-mail ขนาด 20 MB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น